กรมรางเผยข้อมูล M-Map 2 20 เส้นทาง 4 กลุ่มโครงข่ายรถไฟฟ้า
กรมการขนส่งทางราง (ขร.) โดย ดร.พิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง เผยความคืบหน้าข้อมูลโครงข่ายรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ตามโครงการศึกษาเพื่อพัฒนาแบบจำลองการคาดการณ์ความต้องการเดินทางด้วยระบบรางและการพัฒนาโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (พื้นที่ต่อเนื่อง) ระยะที่ 2
ดร.พิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง เปิดเผยความคืบหน้า M-Map2 ว่า ปัจจุบันกระทรวงคมนาคม (คค.) โดย ขร. อยู่ระหว่างศึกษาโครงการศึกษาเพื่อพัฒนาแบบจำลองการคาดการณ์ความต้องการเดินทางด้วยระบบรางและการพัฒนาโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (พื้นที่ต่อเนื่อง) ระยะที่ 2 (M-Map 2) ก่อนเสนอ คค. และคณะรัฐมนตรี(ครม.) เห็นชอบเร่งผลักดันต่อเนื่องจากเฟสแรก
โดย ขร. สรุปแผนการพัฒนา M-Map 2 (ผลการศึกษาเบื้องต้น) จำนวน 20 เส้นทาง 167 สถานี ระยะทางรวม 270.35 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ให้บริการ 788.48 ตารางกิโลเมตร แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ประกอบด้วย
1. A1 เส้นทางที่มีความจำเป็น / มีความพร้อม (สามารถดำเนินการได้ทันที) จำนวน 4 เส้นทาง 31 สถานี และระยะทางรวม 51.40 กิโลเมตร ดังนี้
•• ลุ้นอีกเฮือก!! สายสีแดง 3 ส่วนต่อขยาย…
1.1 รถไฟฟ้าสายสีแดง รังสิต – ธรรมศาสตร์ (Commuter) อยู่ระหว่างเสนอ ครม.
1.2 รถไฟฟ้าสายสีแดง ตลิ่งชัน – ศาลายา (Commuter) อยู่ระหว่างเสนอ ครม.
1.3 รถไฟฟ้าสายสีแดง ตลิ่งชัน – ศิริราช (Commuter) อยู่ระหว่างเสนอ ครม.
1.4 สายสีน้ำตาล แคราย – บึงกุ่ม (Light Rail Transit (LRT) /Monorail/Automated Guideway Transit (AGT)) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) ศึกษารูปแบบการลงทุนแล้วเสร็จ ควรจะต้องตรวจสอบว่าการดำเนินโครงการจะมีผลกระทบต่อโครงการอื่น ๆ เพื่อป้องกันปัญหาที่จะนำไปสู่การฟ้องร้องของเอกชนคู่สัญญาในอนาคต
•• มีความจำเป็น-มีลุ้นอีไอเออีกเพียบ
2. A2 เส้นทางที่มีความจำเป็น / แต่ต้องเตรียมความพร้อมก่อน (คาดว่าดำเนินการภายในปี พ.ศ. 2572) จำนวน 6 เส้นทาง 41 สถานี ระยะทางรวม 51.45 กิโลเมตร ดังนี้
2.1 รถไฟฟ้าสายสีแดง บางซื่อ –หัวลำโพง (Commuter)
2.2 รถไฟฟ้าสายสีเขียว สนามกีฬาแห่งชาติ – ยศเส (Heavy Rail)
2.3 รถไฟฟ้าสายสีเขียว บางหว้า – ตลิ่งชัน (Heavy Rail) อยู่ระหว่างการขออนุมัติ EIA
2.4 รถไฟฟ้าสายสีเงิน บางนา – สุวรรณภูมิ (LRT/Monorail/AGT) โดยรอการพัฒนา Terminal ของสนามบินด้านใต้แล้วเสร็จเพื่อให้รถไฟฟ้าเชื่อมต่อสนามบินได้โดยตรง อยู่ระหว่างการขออนุมัติ EIA
2.5 รถไฟฟ้าสายสีเทา วัชรพล – ทองหล่อ (LRT/Monorail/AGT) อยู่ระหว่างการขออนุมัติ EIA
2.6 รถไฟฟ้าสายสีทอง คลองสาน – ประชาธิปก (AGT) เชื่อมกับสายสีม่วงใต้
•• ผ่าน M-Map 1 แล้วยังลุ้นเส้นทางใหม่-ขุดอุโมงค์
3. B เส้นทางที่มีศักยภาพ เนื่องจากผ่านการศึกษาความคุ้มค่าในโครงการ M-Map 1 หรือเป็นเส้นทางใหม่ที่มีปริมาณผู้โดยสารถึงเกณฑ์ที่จะพัฒนาเป็นระบบรถไฟฟ้าได้ จำนวน 10 เส้นทาง 95 สถานี ระยะทางรวม 167.50 กิโลเมตร ดังนี้
3.1 รถไฟฟ้าสายสีแดง วงเวียนใหญ่ – บางบอน (Commuter) ออกแบบตามแนวเส้นทางใหม่ เนื่องจากเขตทางเดิมไม่เพียงพอจึงไม่สามารถก่อสร้างได้
3.2 รถไฟฟ้าสายสีฟ้า สาทร – ดินแดง (LRT/Monorail/AGT)
3.3 รถไฟฟ้าสายสีเขียว คูคต – วงแหวนรอบนอก (Heavy Rail)
3.4 รถไฟฟ้าสายสีเทา ลำลูกกา – วัชรพล (LRT/Monorail/AGT)
3.5 รถไฟฟ้าสายสีเทา พระโขนง – ท่าพระ (LRT/Monorail/AGT)
3.6 รถไฟฟ้าสายสีแดง หัวลำโพง – วงเวียนใหญ่ (Commuter) ควรออกแบบเป็นอุโมงค์ เพื่อลดผลกระทบเวนคืนที่ดิน ซึ่งผ่านบริเวณที่ชุมชนหนาแน่น
3.7 รถไฟฟ้าสายสีแดง บางบอน – มหาชัย – ปากท่อ (Commuter) ออกแบบตามแนวเส้นทางใหม่ เนื่องจากเขตทางเดิมไม่เพียงพอจึงไม่สามารถก่อสร้างได้
3.8 รถไฟฟ้าสายสีเขียว เคหะ – ตำหรุ (Heavy Rail)
3.9 รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน บางแค – พุทธมณฑลสาย 4 (Heavy Rail) อยู่ระหว่างการขออนุมัติ EIA
3.10 รถไฟฟ้าสายสีเขียว ตลิ่งชัน – รัตนาธิเบศร์ (Heavy Rail)
•• เผย 26 เส้นทางฟีดเดอร์อีกเพียบ
4. C เส้นทางเชื่อมต่อฟีดเดอร์ (Feeder) ดำเนินการพัฒนาเป็นระบบ Feeder เช่น Tram ล้อยาง รถเมล์ไฟฟ้า จำนวน 26 เส้นทาง ระยะทางรวม 389.50 กิโลเมตร ดังนี้
4.1 เส้นทางลาดพร้าว – รัชโยธิน – ท่าน้ำนนท์
4.2 เส้นทางบรมราชชนนี – ดินแดง – หลักสี่
4.3 เส้นทางช่วงพระโขนง – กิ่งแก้ว
4.4 ส้นทางช่วงบางนา – ช่องนนทรี
4.5 เส้นทางช่วงครุไน – สมุทรปราการ
4.6 เส้นทางปทุมธานี – ธัญบุรี
4.7 เส้นทางบางซื่อ – ปทุมธานี
4.8 เส้นทางบางใหญ่ – บางบัวทอง
4.9 เส้นทางราชพฤกษ์ – แคราย
4.10 เส้นทางมีนบุรี – ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ – แพรกษา – สุขุมวิท
4.11 เส้นทางท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ – บางบ่อ
4.12 เส้นทางช่วงบางแค – สำโรง
4.13 เส้นทางช่วงม.ธรรมศาสตร์รังสิต – นวนคร
4.14 เส้นทางธัญบุรี – ม.ธรรมศาสตร์รังสิต
4.15 เส้นทางคลอง 6 – องครักษ์
4.16 เส้นทางเมืองทอง – ปทุมธานี
4.17 เส้นทางคลอง 3 – คูคต
4.18 เส้นทางแพรกษา – ตำหรุ
4.19 เส้นทางดอนเมือง – ศรีสมาน
4.20 เส้นทางรัตนาธิเบศร์ – แยกปากเกร็ด
4.21 เส้นทางประชาธิปก – ศิริราช
4.22 เส้นทางบางซื่อ – พระราม 3
4.23 เส้นทางศาลายา – มหาชัย
4.24 เส้นทางสมุทรปราการ – ศรีนครินทร์
4.25 เส้นทางตำหรุ – จักรีนฤบดินทร์
4.26 เส้นทางศรีนครินทร์ – บางบ่อ
“ปัจจุบัน ขร. อยู่ระหว่างการพิจารณางานงวดสุดท้าย ก่อนเสนอผลการศึกษาต่อ คค. เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบและมอบหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปปฏิบัติต่อไป” อธิบดีกรมการขนส่งทางราง กล่าวในตอนท้าย