เปิดใจ “คีรี กาญจนพาสน์” กว่าจะมาเป็นรถไฟฟ้าบีทีเอส
(ตอนที่ 2)
เกือบล้มละลายแต่ก็ผ่านการฟื้นฟูจนสำเร็จ
โดยเราเริ่มที่ 3 ตู้ก่อน ตอนที่เราเริ่มก็น่าขำนะครับ เพราะคนใช้ระบบไม่เป็นเลย เป็นครั้งแรกของชาวกรุงเทพฯ ที่มีโอกาสใช้บัตรเข้าไปเสียบ และก็โดนดูดไป บางคนไม่กล้าใช้ บอกว่ามันสูงขนาดนั้นตกไปทำไง ผมได้ยินกับหูเลย คุณป้าคุณลุงไม่กล้าขึ้น ฟรีไม่กล้าขึ้น แต่อยากไปเที่ยวมากเลย อยากจะขึ้นไปเที่ยวมาก แต่ไม่กล้าขึ้น และระบบตั๋วที่จะเอาไปขึ้นรถไฟฟ้าก็ใช้ไม่เป็น มันมีอะไรหลายอย่างที่ต้องให้การเป็นความรู้ให้กับผู้ใช้ของระบบขนส่งมวลชน แต่ผมก็ผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบาก กว่าที่คนกรุงเทพฯจะคุ้นเคย ผู้โดยสารจะรู้ว่านี่คืออะไร กว่าจะก่อสร้างได้ กว่าจะชนะประมูลได้ เพราะเราใช้ที่ปรึกษาต่างประเทศทั้งนั้นเลย
รถไฟฟ้าบีทีเอสจึงเป็นโครงการที่เรียกว่าระดับ A Class ไม่มีอะไรที่ด้อยกว่าประเทศอื่น เป็นวิกฤติอันหนึ่งที่ผมเกิดตอนปี 2542 เดินรถแล้ว และปี 2540 วิกฤติต้มยำกุ้ง เพิ่งจะเริ่มให้บริการ รายได้ก็ยังไม่เข้า อะไรต่างๆ ทำให้บริษัทฯที่ผมตั้งใจทำมากับมือเดือดร้อนมาก แต่อย่างไรก็ตามช่วงสั้นๆ มันก็ผ่านวิธีเจรจาปรับโครงสร้างอะไรต่าง ๆ ซึ่งสุดท้ายผมก็โชคดีที่ว่าเอาต้นทุนกลับมาได้ และผมมั่นใจสิ่งที่ทำมาถูกต้อง เป็นระบบที่ถ้ามันสร้างเสร็จ มันเป็นประโยชน์
วันนั้นผมจำได้ว่าต้องขอบคุณอีกครั้งนึงสำหรับพนักงานทุกคน เหนื่อยมากตอนนั้นเคียงบ่าเคียงไหล่จริง ๆ ต่อสู้กันมา ต้มยำกุ้งก็มีหลาย ๆ บริษัท ทั้งธนาคาร ทั้งอาจจะเจ้าสัวใหญ่หลายๆท่าน ที่อยู่ในเหตุการณ์ลำบากเหมือนกัน ส่วนใหญ่บริษัทใหญ่ๆ ก็ผ่านวิกฤติมาทั้งนั้น ผมเป็นหนึ่งในนั้น แต่ด้วยความมั่นใจว่าโครงการที่เราทำ ปัญหาที่มันเกิด เงินทั้งหมดที่กู้มาซ่อมโครงการ เป็นโครงการที่ถูกต้อง ไม่ได้เอาเงินไปลงทุนที่ดิน หรือว่ากู้ไปทำอย่างอื่น คือกู้มาทั้งหมดเนี้ย ก้อนใหญ่สุดใช้เงินของบริษัทฯ ประมาณ 35% นอกนั้นก็เป็นโปรเจคไฟแนนช์ ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นต่างประเทศ ค่า US มูลค่าเงินบาทก็ตก ก็เลยเป็นกองหนี้ที่มหาศาล พอมันกลายเป็นบาทไทยตัวเลขเพิ่มขึ้นมา 3 เท่า ดอกเบี้ยก็ไม่มีทางที่จะ Service ได้
พูดตรง ๆ อันนี้ก็ไม่ได้เกี่ยวกับครอบครัวทางคุณพ่อ วิกฤติครั้งนั้นจะเป็นธนายง โครงการที่ดินและรถไฟฟ้าบีทีเอส แต่อย่างไรก็ตามด้วยความที่ผมไม่ค่อยยอมในสิ่งที่ผมคิดว่ามันถูกต้อง และผมก็ยังคิดว่าถูกต้องแน่นอน ระบบขนส่งมวลชนเป็นระบบที่ถูกต้อง ไม่รู้ว่ามีกี่บริษัทใหญ่ๆที่อยากทำรถไฟฟ้ามาก แต่ลึกๆ มันมีอะไรมากกว่านั้น พอรู้แล้วถอยทุกคน ถอยทุกบริษัท ลงทุนบีทีเอสวันนั้น 50,000 ล้านบาท เราลงทุนหมดเลยคิดแค่ดอกเบี้ยถ้า 5% ก็เป็นยอดเงินสูงถึง 2,500 ล้านบาทสมัยนั้นดอกเบี้ยสูงสุดเนี้ยสำหรับการทำธุรกิจอยู่ที่ประมาณ 14-15% เอาแค่ 5% หรือราว 2,500 ล้านบาท ปีหนึ่งรายได้เท่าไร ต้นทุน พนักงาน ค่าไฟฟ้าวันละ 3 ล้านบาท เพราะอะไร ไฟฟ้าไม่มีราคาพิเศษ เราใช้ไฟฟ้าที่สูงที่สุด เพราะรัฐบาลไม่ได้สนับสนุน เคยโดนโจมตีเหมือนกัน รัฐบาลให้โรงไฟฟ้าไปด้วย ผลิตโรงไฟฟ้าเอง เราใช้เครื่องปั่นไฟสำรองสำหรับเกิดวิกฤติ ไม่ได้เอามาใช้ ก็มีนักการเมืองโจมตีตลอด ไม่รู้ผ่านมาได้อย่างไรกับบีทีเอส
หลังจากนั้นรัฐบาลก็เห็นด้วย ที่ว่าต้องใช้ระบบรางเป็นเครือข่ายแก้ไขปัญหาจราจร ตอนนั้นมีแต่สีเขียวอย่างเดียว ตอนเปิด 23.5 กม. เส้นทางสายสีน้ำเงินก็เป็นรถอีกระบบ ก็คือใต้ดินเหมือนกัน รัฐบาลเป็นคนสร้างอุโมงค์อะไรทั้งหมดเลย ให้เอกชนซื้อรถ ก็ยังไปไม่ค่อยไหว เอกชนแค่ซื้อรถและทำระบบไฟฟ้า เท่าที่ผมทราบ แล้วก็ขาดทุน และนับประสาอะไรกับบีทีเอสที่ลงทุนหมดเลย
แต่ที่เราอยู่ได้วันนี้เพราะเข้าโครงการฟื้นฟู และวิธีต่าง ๆ ทำให้ต้นทุน 50,000 ล้านบาทหายไป ทำให้รายได้ลบต้นทุนแล้วมีดอกเบี้ยของตัวมันเอง คือที่มาของกำไร เอกชนลงทุนทำรถไฟฟ้าบอกได้เลยขาดทุน 10,000% ไม่ใช่ 100%
มันเยอะที่เราขาดหวังเพราะเส้นทางมันยังสั้นมาก และเมืองไทยยังนิยมในการขับรถส่วนตัว และระบบรถไฟฟ้าก็ยังไม่ต่อเนื่องเท่าไร เท่ารถไฟ เวลานี้เรามีแต่ในเมือง นอกเมืองยังไม่สมบูรณ์ที่จะทำได้ ด้วยความเร็วต่าง ๆ ในกรุงเทพฯ มันจะไม่เหมือนในฮ่องกง สิงคโปร์ ที่อาศัยอยู่ในตึก รถไฟฟ้ามา 1 สถานีส่งทีเดียวถึงกลุ่มคนในย่านนั้น แต่เมืองไทยยังเป็นที่ราบเป็นหลัก แน่นอนบางที่เป็นออฟฟิศ บางสถานีคนจะใช้เป็นหลัก สีอื่นผมว่าน้อยกว่าเยอะ จำเป็นต้องมีส่วนต่อขยาย อย่างญี่ปุ่นรัฐบาลบังคับคนที่ทำในเมืองไปลงทุนนอกเมือง แต่ประเทศไทยแย่งกัน รัฐบาลก็เริ่มเข้าใจเริ่มสนับสนุน แต่สนับสนุนแค่โครงสร้างยังไม่พอ
เคลียร์ชัด!! ราคาค่าโดยสารถูกลงได้ถ้ารัฐสนับสนุน
ถ้าเป็นไปได้ผมก็อยากเห็นค่ารถไฟฟ้าถูกกว่านี้ ถูกกว่านี้หมายความว่าต้องช่วยกันสนับสนุนต่อเที่ยวต่อคน วันหนึ่ง 10-15 บาท แต่ถ้าจำนวนเที่ยวคนที่ไม่ใช่ช่วงโควิด-19 ตอนนี้เกือบจะ 2 ล้านเที่ยวคนแล้วในกรุงเทพฯ นั่นแสดงว่า 20-30 ล้านบาทในการสนับสนุนให้ประชาชนใช้รถไฟฟ้าอย่างเดียว รัฐบาลต้องซัพพอร์ตค่าโดยสาร
ประเทศจีนคิดค่าโดยสารแค่ 2 หยวน หรือ 10 บาท แต่จริง ๆ แล้วผู้ที่ประมูลวันนั้นจะไปบริหารให้ แต่รัฐบาลต้องสนับสนุนคนที่บริหารดูว่าใบละกี่ตัง ผมลงไป 8 หยวนต่อเที่ยว คนที่ชนะเพียง 7.9 หยวน รัฐบาลจีนสนับสนุนสายที่วิ่งในปักกิ่งคนละ 7.9 หยวนต่อเที่ยวและรถไฟฟ้ารับจริง ๆ แค่ 2 หยวน แสดงว่าคนใช้เป็น 10 ล้านคนแต่ในด้านของเศรษฐกิจได้มากกว่านั้น ผมอยากให้ทำ
เหตุที่เราทำเนี่ย เอกชนก็เหนื่อย พูดจริง ๆผมกล้าพูดเลยถ้าบีทีเอสไม่ปรับโครงสร้างหนี้ ไม่ใช่เอาหนี้สินออกไป ขาดทุนครับ ขาดทุนแม้กระทั่งรัฐบาลช่วยทำอุโมงค์ หรือว่าโครงสร้างให้ ฉะนั้นลดราคา สนับสนุนราคา ไม่ใช่คนละ แต่เป็นเที่ยวละ